วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ASP การเพิ่มข้อมูล ๑

หลังจากที่เราเซต IIS เรียบร้อยแล้ว
เราก็จะได้เริ่มลุยเขียน ASP กันแล้ว โดยผมจะสอนเขียนโปรแกรมตัดเกรดก็แล้วกันนะ โดยจะทำการ connect เข้า Mysql เลย

1.เริ่มแรกให้เอาเครื่องหมายถูกออกก่อน ห้ามลืมก่อนทำงานทุกครั้ง

2. ทำการสร้างแบบฟอร์มตารางให้ได้ดังรูปก่อน
3. หลังจากนั้นเราก็เข้าไปที่ Insert > Form Field
โดยจะมีรูปแบบของ Form Field ประเภทต่าง ๆ คือ
*** One-Line Text Box คือการรับค่าเป็นตัวอักษร
*** Scrolling Text Box คือการรับค่าเป็นตัวอักษร แต่มันแค่มีหลาย ๆ บรรทัด
*** Check Box คือการเลือกเชคแระ เพื่อน ๆ น่าจะเข้าใจเนาะ
*** Radio Button คือการเลือกเหมือน Check Box แระแล้วแต่จะเลือกใช้งาน
*** Drop Down Menu คือการมีหลายตัวเลือกแต่ต้องการประหยัดพื้นที่ รูปแบบการนำไปใช้งานคือ การเลือกคณะ เลือกวิชาเอกเป็นต้น
*** Image ก็ Path ของใส่รูปภาพไง
*** Hidden Form Field เป็นการซ่อนฟอร์ม

ขอควรระวังนะ สำหรับเพื่อน ๆ ที่ Insert Form Field เข้ามาแล้ว Namo มันจะถามว่าต้องการกำหนดค่าของ Form Field นั้นอย่างไร เดียวเรามาลอง Set ค่ากันดูเลยนะ

เอาละครับ สำหรับการเซตค่า One Line Text Box นะ
*** name คือ ชื่อของ One Line Text Box โดยจะต้องตั้งเป็น ภาษาอังกฤษเท่านั้นและต้องมีความหมายเข้าใจได้ง่ายนะ ถ้าตั้งเป็นภาษาไทยจะส่งผลกระทบต่อการ Connect ข้อมูลเข้า Mysql นะ

*** Initial Value คือ การพิมพ์ตัวอักษรลงไปไว้ใน One Line Text Box ก่อนจะรับค่าเช่น ผมพิมพ์ว่า กรอกรหัสนักศึกษา


เห็นไหมครับเพื่อน ๆ ก็จะได้ข้อความด้านในมาว่า กรอกรหัสนักศึกษา
*** Maximum Length คือ ตัวอักษรที่จะสามารถกรอกลงไปได้ใน One Line Text Box นี้ หากใส่ไว้ 30 ก็จะสามารถ ใส่ พยัญชนะ + สระ ได้แค่ 30 ตัวอักษรเท่านั้น
*** Width in Charecter คือ มุมมองที่เราสามารถมองเห็นขอบตัวอักษร หากเพื่อน ๆ set max length ไว้ที่ 30 ตัวอักษร ก็ขอแนะนำให้เพื่อน ๆ เพิ่ม width in charecter ไว้ที่ 32 หรือจำง่าย ๆ ว่า width in charecter = max length + 2 ครับ
*** Input Type คือ รูปแบบของการใช้งาน One Line Text Box
------- Standard คือ การใช้งานรับค่าข้อความแบบปกติ
------- Password คือ การรับค่าเป็น Password โดยจะมีการปิดบังค่าที่รับมาไม่ให้สามารถมองเห็นได้
------- Filename คือ การรับค่าตำแหน่งที่ตั้งของ File เช่น


ต่อมาคือ การเซต คำนำหน้าชื่อ เราก็จะได้ Radio Button นะครับ

*** Name คือ ชื่อของ RB ตัวนี้ โดยผมใช้ชื่อว่า fname
*** Value คือ ค่าที่เราเลือกเข้าไป โดยหาก RB ตัวนี้แทนค่าด้วย ชาย ข้อมูลที่จะแสดงออกมาก็คือ เพศ ชาย
*** Initial State คือ ค่าที่ต้องการให้แสดงตอนเริ่มต้น Selected คือเลือก Not Selected คือไม่เลือก ในที่นี้ขอแนะนำว่าให้ Not Selected ไว้จะดีกว่า

******* ข้อควรระวัง หากข้อมูลประเภทเดียวกัน Name ก็จะต้องเหมือนกัน แต่จะต่างกันตรงที่ค่า Value เท่านั้น *******

ต่อมาคือการใช้งาน Drop Down Menu

หลังจากที่เราได้การรับค่าแบบต่าง ๆ มาแล้ว เราก็มาถึง Drop Down กันแล้ว
*** Name คือ ชื่อของข้อมูลตัวนี้ ผมใช้ว่า factory นะ
*** ต่อมาให้เพื่อน ๆ คลิกที่ Add จะปรากฏหน้าต่าง ๆ แบบนี้ขึ้นมาคือ

Drop Down Setting
*** Name คือ ชื่อของค่าที่ต้องการเก็บ
*** Value คือ ค่าที่ต้องการเก็บ โดยทั้ง Name และ Value จะต้องเหมือนกันนะ


4. หลังจากที่ได้ตาราง Form Field มาแล้วก็ให้เพื่อน ๆ เพิ่มปุ่มกด Submit กับ Cancel
โดยไปที่ Insert > Form Field > Push Button

จะได้หน้าต่างตามภาพ

*** โดยเพื่อน ๆ ไม่ต้องปรับแต่งค่าใด ๆ ทั้งสิ้น แค่
หากต้องการให้ปุ่มเป็น ปุ่มตกลงก็ Set Value เป็นตกลง และ เลือก Button Type เป็น Submit
หากต้องการให้ปุ่มเป็น ปุ่มยกเลิกก็ Set Value เป็นยกเลิก และ เลือก Button Type เป็น Reset

รายละเอียดของแต่ละ Form Field
รหัสนักศึกษา = id
คำนำหน้า = fname
ชื่อ = name
นามสกุล = surname
อายุ = age
คณะ = factory
วิชาเอก = subject
คะแนน = score

555555 เป็นอันเสดเรียบร้อยแล้ว สำหรับ Form นี้

แล้วก็เซฟว่า Score.asp ด้วยละ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น